เป็นอุทยานฯ ที่กำหนดจากพื้นที่โครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน โดยเป็นพื้นที่ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนพรรษา 5 รอบในปี พ.ศ.2535 เพื่อสนองพระราชปณิธานที่ทรงอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยกำหนดพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี ป่าพุยางและป่าพุสามซ้อนและป่าเขากงเกวียน ซึ่งสภาพโดยรวมยังคงความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงสภาพธรรมชาติที่งดงาม และเป็นป่าต้นน้ำลำธารได้เป็นอย่างดี มีเนื้อที่ประมาณ 205,777 ไร่ ในท้องที่ ต.ยางหัก, ต.อ่างหิน, ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ และ ต.บ้านบึง, ต.บ้านคา, ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไป เป็นเทือกเขาสูงสลับกับพื้นที่ภูเขาและที่ราบเชิงเขา มียอดเขาสูงสุดชื่อ เขายืด ความสูงประมาณ 806 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยพุไทร ห้วยท่าเคย ห้วยพุน้ำร้อน ลุ่มแม่น้ำประจัน ไหลลงแม่น้ำเพชรบุรี และลุ่มแม่น้ำภาชีไหลลงแม่น้ำแม่กลอง จะมีน้ำไหลตลอดปี แต่ในฤดูแล้งจะมีปริมาณน้อย
สภาพโดยทั่วไป เป็นเทือกเขาสูงสลับกับพื้นที่ภูเขาและที่ราบเชิงเขา มียอดเขาสูงสุดชื่อ เขายืด ความสูงประมาณ 806 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยพุไทร ห้วยท่าเคย ห้วยพุน้ำร้อน ลุ่มแม่น้ำประจัน ไหลลงแม่น้ำเพชรบุรี และลุ่มแม่น้ำภาชีไหลลงแม่น้ำแม่กลอง จะมีน้ำไหลตลอดปี แต่ในฤดูแล้งจะมีปริมาณน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูฝน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูฝน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ชนิดของป่าและพันธ์ไม้
ลักษณะทั่วไปเป็นป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ มีป่าดิบเขาอยู่ตามยอดเขา นอกจากนี้ยังมีป่าเต็งรังอยู่บางส่วน โดยทั่วไปยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้มีค่าหลายชนิดและพืชสมุนไพรอีกจำนวนมาก ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าผสมผลัดใบ ได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง ตะเคียน สมอพิเภก ตะแบก แดง เสลา ตะคร้อ กระบก เป็นต้น ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าดิบแล้ง ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปาป่ารัก มะม่วงป่า มะหาด แดงดง เติม ฯลฯ
ลักษณะทั่วไปเป็นป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ มีป่าดิบเขาอยู่ตามยอดเขา นอกจากนี้ยังมีป่าเต็งรังอยู่บางส่วน โดยทั่วไปยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้มีค่าหลายชนิดและพืชสมุนไพรอีกจำนวนมาก ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าผสมผลัดใบ ได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง ตะเคียน สมอพิเภก ตะแบก แดง เสลา ตะคร้อ กระบก เป็นต้น ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าดิบแล้ง ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปาป่ารัก มะม่วงป่า มะหาด แดงดง เติม ฯลฯ
สัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่อาศัย
บริเวณผืนป่าแห่งนี้ ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด สำหรับสัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่อุทยานฯ ได้แก่ กระจง เก้ง กวาง เม่น หมูป่า หมูหริ่ง อีเห็น หมาใน ชะมด เสือไฟ เสือปลา ค่าง บ่าง พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า กระรอกบิน กระรอก กระแต หมูป่า ชะนี ลิง หมี กระทิง เป็นต้น
นกที่พบเห็น ได้แก่ นกเงือกสีน้ำตาล ซึ่งเป็นนกที่ใกล้จะสูญพันธุ์ นกกก นกแก๊ก นกกาฮัง นกกาวะ นกเลือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือกดำ นกเขาชนิดต่างๆ เหยี่ยวชนิดต่างๆ นกเค้าชนิดต่างๆ นกกระทาดง นกขุนทอง นกแซงแซว นกตะขาบทุ่ง นกหัวขวาน นกก้านตอง นกแซวสวรรค์ ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกยางเขียว นกบั้งรอกใหญ่ ฯลฯ
ปลาที่พบเห็น ได้แก่ ปลาค้อ ปลาตะเพียนทราย ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาซิวหางแดง ปลาก้าง ปลาซิวใบไผ่ ปลาแป้นแก้ว ปลาพลวง ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาผีเสื้อติดหิน ปลาใส้ตันตาแดง ฯลฯ
บริเวณผืนป่าแห่งนี้ ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด สำหรับสัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่อุทยานฯ ได้แก่ กระจง เก้ง กวาง เม่น หมูป่า หมูหริ่ง อีเห็น หมาใน ชะมด เสือไฟ เสือปลา ค่าง บ่าง พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า กระรอกบิน กระรอก กระแต หมูป่า ชะนี ลิง หมี กระทิง เป็นต้น
นกที่พบเห็น ได้แก่ นกเงือกสีน้ำตาล ซึ่งเป็นนกที่ใกล้จะสูญพันธุ์ นกกก นกแก๊ก นกกาฮัง นกกาวะ นกเลือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือกดำ นกเขาชนิดต่างๆ เหยี่ยวชนิดต่างๆ นกเค้าชนิดต่างๆ นกกระทาดง นกขุนทอง นกแซงแซว นกตะขาบทุ่ง นกหัวขวาน นกก้านตอง นกแซวสวรรค์ ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกยางเขียว นกบั้งรอกใหญ่ ฯลฯ
ปลาที่พบเห็น ได้แก่ ปลาค้อ ปลาตะเพียนทราย ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาซิวหางแดง ปลาก้าง ปลาซิวใบไผ่ ปลาแป้นแก้ว ปลาพลวง ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาผีเสื้อติดหิน ปลาใส้ตันตาแดง ฯลฯ
สถานที่ท่องเที่ยวและจุดเด่นที่น่าสนใจ
ลำห้วยไทยประจัน ตั้งแต่ห้วย 1-ห้วย 5 เป็นโตรกธารและโขดหินที่มีลักษณะแปลกและสวยงาม บริเวณลำห้วยมีแอ่งอาบน้ำเหมาะแก่การพักผ่อนเล่นน้ำ และนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเพื่อชื่นชมความงดงาม ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าซึ่งเป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของสัตว์ป่า จึงเหมาะกับการท่องเที่ยวแบบผจญภัย
น้ำตกไทยประจัน เป็นน้ำตกขนาดสูงประมาณ 8-11 เมตร น้ำตกมีลักษณะเป็นสายน้ำยาวสวยงาม โขดหิน หน้าผาสูงชัน และพันธุ์ไม้จำพวกเฟิร์นและมอสต่างๆ การเดินทางเข้าชมน้ำตกต้องเดินทางด้วยเท้าจากห้วย 5 เป็นระยะทาง 15 กม.
น้ำพุร้อนโป่งกระทิง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านน้ำพุร้อน ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี อุณหภูมิประมาณ 45 องศาเซลเซียส ที่น่าอัศจรรย์ คือ เมื่อมีเสียงดังแค่ปรบมือก็จะมีพรายน้ำและฟองอากาศผุดขึ้นมาจากบ่อ เป็นบ่อน้ำพุร้อนที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและอาบน้ำแร่เพื่อสุขภาพ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 40 กม.ไปตามทางหลวงหมายเลข 3206 ถึงทางแยกบ้านโป่งกระทิงล่าง เลี้ยวซ้ายไปบ้านพุน้ำร้อนผ่านอ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคย มีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าไปยังบ่อน้ำพุร้อนระยะทางจากกรุงเทพฯ 186 กม.
ลำห้วยไทยประจัน ตั้งแต่ห้วย 1-ห้วย 5 เป็นโตรกธารและโขดหินที่มีลักษณะแปลกและสวยงาม บริเวณลำห้วยมีแอ่งอาบน้ำเหมาะแก่การพักผ่อนเล่นน้ำ และนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเพื่อชื่นชมความงดงาม ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าซึ่งเป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของสัตว์ป่า จึงเหมาะกับการท่องเที่ยวแบบผจญภัย
น้ำตกไทยประจัน เป็นน้ำตกขนาดสูงประมาณ 8-11 เมตร น้ำตกมีลักษณะเป็นสายน้ำยาวสวยงาม โขดหิน หน้าผาสูงชัน และพันธุ์ไม้จำพวกเฟิร์นและมอสต่างๆ การเดินทางเข้าชมน้ำตกต้องเดินทางด้วยเท้าจากห้วย 5 เป็นระยะทาง 15 กม.
น้ำพุร้อนโป่งกระทิง เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านน้ำพุร้อน ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี อุณหภูมิประมาณ 45 องศาเซลเซียส ที่น่าอัศจรรย์ คือ เมื่อมีเสียงดังแค่ปรบมือก็จะมีพรายน้ำและฟองอากาศผุดขึ้นมาจากบ่อ เป็นบ่อน้ำพุร้อนที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและอาบน้ำแร่เพื่อสุขภาพ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 40 กม.ไปตามทางหลวงหมายเลข 3206 ถึงทางแยกบ้านโป่งกระทิงล่าง เลี้ยวซ้ายไปบ้านพุน้ำร้อนผ่านอ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคย มีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าไปยังบ่อน้ำพุร้อนระยะทางจากกรุงเทพฯ 186 กม.
การคมนาคม
จากกรุงเทพมหานครไปอุทยานฯ ใช้เส้นทางการเดินทางไปจังหวัดราชบุรี โดยทางรถยนต์ ถนนเพชรเกษม หรือธนบุรี-ปากท่อ(พระราม 2 ) และใช้เส้นทางรถไฟจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟราชบุรี ระยะทางประมาณ 100 กม.จากนั้นไปตามถนนเพชรเกษม ไป อ.ปากท่อ ระยะทางประมาณ 22 กม.เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3206 ระยะทางประมาณ 38 กม. จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปบ้านไทยประจัน ระยะทาง 5 กม.รวมระยะทางจากกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 165 กม.
จากกรุงเทพมหานครไปอุทยานฯ ใช้เส้นทางการเดินทางไปจังหวัดราชบุรี โดยทางรถยนต์ ถนนเพชรเกษม หรือธนบุรี-ปากท่อ(พระราม 2 ) และใช้เส้นทางรถไฟจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟราชบุรี ระยะทางประมาณ 100 กม.จากนั้นไปตามถนนเพชรเกษม ไป อ.ปากท่อ ระยะทางประมาณ 22 กม.เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3206 ระยะทางประมาณ 38 กม. จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปบ้านไทยประจัน ระยะทาง 5 กม.รวมระยะทางจากกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 165 กม.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110 โทร.0-3221-1025 โทรสาร.0-3230-227
- สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร.0-2562-0760
- อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน 110 ม.5 ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140 โทร.08-7165-3278
ที่มา :
-สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง). (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จ.ราชบุรี. แจกจ่ายในงานกาชาดเที่ยวราชบุรีปี 2553.
-เว็บไซต์ http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=9130
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น